วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

นิทานเวตาล(เรื่องที่10)

นิทานเวตาล(เรื่องที่10)



ประวัติผู้แต่ง

     พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรีมีพระนามเดิมว่า ฉิม  ครองราชย์ ๗กันยายน พ.ศ.๒๓๕๒ ถึง ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น ๗ค่ำ เดือน ๔  ปีกุน เวลาเช้า ๕ ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๐เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกับกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวง-เมืองสมุทรสงครามขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระชนมายุ๑๖ พรรษา    พระราชบิดาจึงโปรดสถาปนาให้ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศราสุนทร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคต พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์นับเป็นองค์ที่ ๒ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย”ทรงครองราชย์อยู่ ๑๕ปี ถึงปี พ.ศ. ๒๓๖๗ได้เสด็จสวรรคต เมื่อพระชนมายุได้ ๕๖พรรษากับ ๕เดือน พระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่๒ ใช้รูปครุฑ  

ลักษณะคำประพันธ์

  บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”  กลอนบทละคร บทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๖ คำ หนึ่งบทมี ๒ บาท เรียกว่าบาทเอก  และบาทโท ๑ บาท เท่ากับ ๑ คำกลอน   มีลักษณะการสัมผัสดังนี้


เรื่องย่อ

ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหาจึงเตรียมจัดยกทัพไปตีเมืองดาหาโดยให้พระอนุชา ยกทัพมาช่วย ท้าวกะหมังกุหนิงให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง
         ฝ่ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน และท้าวกาหลัง และท้าวสิงหาส่าหรี ท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งส่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยท้าดาหาทำศึก อีกฉบับส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตหราว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา ส่วนท้าวกาหลังให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมทัพมาช่วย  ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสมาช่วยรบ
      เมื่อทะที่ช่วยเมืองดาหารบมาครบกันแล้ว  อิเหนามีบัญชาให้จักทัพรบกับท้าวกะหมังกุหนิง ครั้นทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน  สังคามาระตาเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำและสังหารวิหยาสะกำได้ ท้ากะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ ขับม้าไล่ล่าสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้ ทั้งสองฝ่ายฝีมือเท่าเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาจึงใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิงได้ ทัพฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิงจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง



ความเป็นมา
           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือกุเรปัน และ ดาหา
        ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา อดีตพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์เดิมที่เสด็จออกผนวช จึงมีพระดำริให้อิเหนาและบุษบาอภิเษกกัน เพื่อให้กุเรปันและดาหากลับมารวมกันเป็นราชอาณาจักรเดียวกันดั่งเดิม
       เนื่องจากนิทานอิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก เนื้อเรื่องจึงปรากฏเป็นหลายสำนวน และเมื่อได้เข้ามาสู่ประเทศไทย มีคำกล่าวสืบเนื่องกันมาว่าพระราชิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล  คือ  เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฟังนิทานอิเหนาจากนางกำนัลชาวมลายูที่ได้มาจากเมืองปัตตานี พระราชธิดาทั้งสองพระองค์จึงมีพระราชธิดาจึงมีพระราชนิพนธ์ขึ้นนิทานเรื่องนี้ขึ้น เจ้าฟ้ากุณฑลทรงนิพนธ์บทละครเรื่องของดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงนิพนธ์เป็นละครเรื่อง  อิเหนา  แต่คนทั่วไปมักเรียกบทพระราชนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ว่า อิเหนาใหญ่ และอิเหนาเล็ก  นิทานปันหยีของไทยจึงมี ๒ สำนวนแต่นั้นมา
       สมัยรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมิจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีครั้งเป็นอันเสร็จ

ประวัติผู้แต่ง
        อิเหนาเป็นบทละครรำพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมหาราช รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญที่สุดในสมัยนี้หลาย เรื่องได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดี  และทรงได้รับการเทิดพระเกียรติจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก
ลักษณะคำประพันธ์
     บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”
   แผนผังและตัวอย่างบทละคร
                                 บัดนั้น                                                   ดะหมังผู้มียศถา
                      นับนิ้วบังคมคัลวันทา                                       ทูลถวายสาราพระภูมี
                                  เมื่อนั้น                                                  ระตูหมันหยาเรืองศรี
                       รับสารมาจากเสนี                                             แล้วคลี่ออกอ่านทันใด

เรื่องย่อ
               เนื้อเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง มีดังนี้
          ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหาจึงเตรียมจัดยกทัพไปตีเมืองดาหาโดยให้พระอนุชา ยกทัพมาช่วย ท้าวกะหมังกุหนิงให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง
         ฝ่ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน และท้าวกาหลัง และท้าวสิงหาส่าหรี ท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งส่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยท้าดาหาทำศึก อีกฉบับส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตหราว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา ส่วนท้าวกาหลังให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมทัพมาช่วย  ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสมาช่วยรบ
      เมื่อทะที่ช่วยเมืองดาหารบมาครบกันแล้ว  อิเหนามีบัญชาให้จักทัพรบกับท้าวกะหมังกุหนิง
ครั้นทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน  สังคามาระตาเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำและสังหารวิหยาสะกำได้ ท้ากะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ ขับม้าไล่ล่าสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้ ทั้งสองฝ่ายฝีมือเท่าเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาจึงใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิงได้ ทัพฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิงจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป
เนื้อเรื่อง
ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและท้าวปะหมัน
                                 เมื่อนั้น                                    ท้าวกะหมังกุหนิงเรืองศรี
                    เสด็จเหนือแท่นรัตน์มณี                       ภูมีเห็นสองอนุชา
                    จึงตรัสเรียกให้นั่งร่วมอาสน์                 สำราญราชหฤทัยหรรษา
                    แล้วปราศรัยระตูบรรดามา                    ยังปรีดาผาสุกหรือทุกข์ภัย
                    ซึ่งเราให้มาในทั้งนี้                              จะไปตีดาหากรุงใหญ่
                    ระตูทุกนครอย่านอนใจ                       ช่วยเราชิงชัยให้ทันการ
                                                              ฯลฯ
                                    
                                        ท้าดาหาเสด็จออกรับทูตกะหมังกุหนิง
                                      เมื่อนั้น                                พระองค์ทรงพิภพดาหา
                        ครั้นสุริย์ฉายบ่ายสามนาฬิกา             ก็โสรจรงคงคาอ่าองค์
                        ทรงเครื่องประดับสรรพเสร็จ            แล้วเสด็จย่างเยื้องยูรหงส์
                         ออกยังพระโรงคัลบรรจง                  นั่งลงบนบัลลังก์รูจี
                         ยาสาบังคมบรมนาถ                           เบิกทูตถือราชสารศรี
                         จึงดำรัสตรัสสั่งไปทันที                     ให้เสนีนำแขกเมืองมา
                                                                   ฯลฯ
                                     ท้าวกุเรปันมีราชสารถึงอิเหนาและระตูหมันหยา
                                            เมื่อนั้น                                      องค์ท้าวกุเรปันเป็นใหญ่
                           ครั้นดะหมังเสนาทูลลาไป                          พระตรึกไตรในคดีด้วยปรีชา
                           แล้วตรัสแก่กะหรัดตะปาตี                          อันสงครามครั้งนี้เห็นหนักหนา
                           จะเปลี่ยวเปล่าเศร้าใจอนุชา                          ไม่มีที่จะปรึกษาหารือใคร
                           เจ้าจงยกพลขันธ์ไปบรรจบ                           สบทบทัพอิเหนาให้จงได้
                          ชวนกันยกรีบเร็วไป                                       อย่าทันให้ปัจจามิตรติดพารา
                                                                         ฯลฯ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วรรณคดี อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

นิราศอิเหนา

นิราศอิเหนา

    นิราศอิเหนา เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ สันนิษฐานจากสำนวนกลอนคาดว่าน่าจะประพันธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งที่สุนทรภู่อยู่ในอุปการะของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ จึงน่าจะแต่งถวาย[1] เนื้อหาของกลอนนิราศนำมาจากส่วนหนึ่งของวรรณคดีเรื่อง อิเหนา โดยจับใจความตอนที่อิเหนากลับจากไปแก้สงสัยที่เมืองดาหา แล้วพบว่านางบุษบาที่ตนลักตัวมาซ่อนไว้ที่ถ้ำทอง ถูกลมพายุพัดหายไปเสียแล้ว เนื้อหาของกลอนนิราศเป็นการเดินทางติดตามค้นหานางบุษบาของอิเหนา ระหว่างทางก็พร่ำรำพันถึงนางผู้เป็นที่รัก อิเหนาตามหานางบุษบาอยู่เจ็ดเดือนก็หาไม่พบ เนื้อเรื่องจบลงที่อิเหนาและไพร่พลออกบวชอุทิศกุศลให้นางบุษบา ซึ่งอิเหนาคิดว่าคงจะตายไปแล้ว
Related image
นิราศอิเหนา
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :กลอนนิราศ
คำประพันธ์ :กลอนสุภาพ
ความยาว :
สมัย :รัชกาลที่ 3
ปีที่แต่ง :
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร

นิราศภูเขาทอง

นิราศภูเขาทอง

นิราศภูเขาทอง เป็นนิราศที่สุนทรภู่ประพันธ์ในปี พ.ศ. 2373 หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสววรคตไปแล้ว 6 ปี (สวรรคตปี พ.ศ. 2367) เพื่อการเดินทางจากวัดราชบุรณะไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังจากออกพรรษาแล้ว

เนื้อหาในนิราศภูเขาทอง

จากคำพรรณนาความรู้สึกอาลัยอาวรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในนิราศภูเขาทอง ทำให้เห็นว่าสุนททรภู่ยังคงจงรักภักดีต่อพระองค์ตลอดมาและไม่เคยลืมความสุขที่ตนเองเคยได้รับจากพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ซึ่งสุนทรภู่ได้กล่าวถึงความสุขหนหลังในสมัยรัชกาลที่ 2 ในบทนี้
สิ้นแผ่นดินสิ้นนามตามเสด็จต้องเที่ยวเตร็ดเตร่หาที่อาศัย
แม้นกำเนิดเกิดชาติใดใดขอให้ได้เป็นข้าฝ่าธุลี
สิ้นแผ่นดินขอให้สิ้นชีวิตบ้างอย่ารู้ร้างบงกชบทศรี
เหลืออาลัยใจตรมระทมทวีทุกวันนี้ก็ซังตายทรงกายมา

เส้นทางการเดินทางของนิราศภูเขาทอง

นิราศภูเขาทองเริ่มต้นเล่าการเดินทางทางเรือจากวัดราชบุรณะ กรุงเทพฯ จุดหมายปลายทางคือ พระเจดีย์ภูเขาทองที่พระนครศรีอยุธยา

สถานที่ที่เดินทางผ่านคือ พระบรมมหาราชวัง, วัดประโคนปัก, โรงเหล้า, บางจาก, บางพลู, บางพลัด, บางโพ, บ้านญวน, วัดเขมา, ตลาดแก้ว, ตลาดขวัญ, บางธรณี, เกาะเกร็ด, บางพูด, บ้านใหม่, บางเดื่อ, บางหลวง, บ้านงิ้ว เมื่อเข้าเขตพระนครศรีอยุธยา ผ่านหน้าจวนเจ้าเมือง, วัดหน้าพระเมรุ แล้วจึงเดินทางถึงเจดีย์ภูเขาทอง

ส่วนขากลับ กล่าวถึงวัดอรุณราชวรารามเท่านั้น

ลักษณะคำประพันธ์

นิราศภูเขาทองแต่งด้วยกลอนนิราศ มีความคล้ายคลึงกับกลอนสุภาพ แต่เริ่มด้วยวรรครับจบ ด้วยวรรคส่งลงท้ายด้วยคำว่า เอย มีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น แต่มีความไพเราะและเรียบง่าย ตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของความเป็นมาของบ้านเมืองในสมัยนั้น
Related image

โคลงโลกนิติ

โคลงโลกนิติ

โคลงโลกนิติ เป็นวรรณกรรมประเภทคำสอน ในลักษณะของโคลงสุภาษิต คำว่า โลกนิติ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) แปลว่า ระเบียบแบบแผนแห่งโลก
เนื้อหาในโคลงโลกนิติจึงมุ่งแสดงความจริงของโลกและสัจธรรมของชีวิต เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้เท่าทันต่อโลก และเข้าใจในความเป็นไปของชีวิต พร้อมเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้อ่านได้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องดีงามสืบไป
โคลงโลกนิติมีความไพเราะเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาปรัชญาสาระ ครบคุณค่าทางวรรณกรรม ทำให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่คนทั่วไป บางท่านกล่าวยกย่องโคลงโลกนิติว่าเป็น อมตะวรรณกรรมคำสอน หรือ ยอดสุภาษิตอมตะ ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นบทอ่านในหนังสือแบบเรียนสำหรับนักเรียนนักศึกษาอยู่ทุกยุคสมัย และได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่า

ประวัติ

  • สำนวนเก่า
โคลงโลกนิติเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยนักปราชญ์ในสมัยนั้นได้คัดเลือกหาคาถาสุภาษิตภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ เช่น คัมภีร์โลกนิติคัมภีร์ธรรมนีติคัมภีร์ราชนีติหิโตปเทศธรรมบท และ พระไตรปิฎก เป็นต้น มาถอดความแล้วเรียบเรียงแต่งเป็นโคลงโลกนิติ
  • ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ฯ) ในปี พ.ศ. 2374 ก็มีดำริให้จารึกวิชาการสาขาต่างๆ ไว้บนแผ่นศิลาที่ประดับไว้ตามเสาหรือกำแพงพระวิหาร ในการนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนเดชอดิศร (ต่อมาได้ดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร) ทรงชำระโคลงโลกนิติของเก่าให้ประณีตไพเราะยิ่งขึ้น เพื่อจารึกไว้ในคราวเดียวกัน
จำนวนโคลงโลกนิติที่ปรากฏต้นฉบับในสมุดไทยมีทั้งสิ้น 408 บท แต่ที่จารึกไว้ในวัดพระเชตุพนฯ แผ่นละบท มี 435 แผ่น (รวมโคลงนำ 2 บท) คาดว่ามีโคลงที่แต่งเพิ่มเติมเพื่อให้พอดีกับพื้นที่จารึก
  • ฉบับชำระ ภายหลังมีการรวบรวม สอบทาน และจัดพิมพ์เผยแพร่โคลงโลกนิติ ดังนี้
    • หนังสือสอนอ่านฯ สุภาสิตโลกนิติ์คำโคลง รวบรวม สอบทาน และจัดพิมพ์โดยกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ เมื่อปี พ.ศ. 2447 เพื่อใช้เป็นหนังสือแบบเรียนสำหรับนักเรียน โดยนำโคลงที่สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร ทรงชำระไว้ 408 บท ที่ปรากฏในต้นฉบับสมุดไทย (รวมโคลงนำ 2 บท โคลงส่งท้าย 2 บท และโคลงที่ซ้ำกันอยู่ 5 บท) มาพิมพ์ร่วมกับโคลงอีก 30 บท ที่พบในแผ่นศิลาวัดพระเชตุพนฯ
    • ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติจัดพิมพ์โคลงโลกนิติที่เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร ร่วมกับโคลงโลกนิติสำนวนเก่าที่มีการค้นพบเป็นจำนวนมากจากหอพระสมุดวชิรญาณ พร้อมระบุคาถาอันเป็นที่มาของโคลง และจัดรวบรวมกันเป็นชุดๆ ได้โคลงภาษิตรวม 593 ชุด จำนวน 911 บท (ไม่รวมโคลงนำ 2 บท และโคลงส่งท้าย 2 บท) พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2460
    • ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับกรมวิชาการ เป็นฉบับที่คณะกรรมการคัดสรรและเผยแพร่วรรณกรรมของชาติ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ นำต้นฉบับ หนังสือสอนอ่านฯ สุภาสิตโลกนิติ์คำโคลง และ ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ มาสอบทาน แก้ไขอักขระ ตัดโคลงที่ซ้ำซ้อน เพิ่มเติมคาถา จัดทำคำอธิบายศัพท์ และจัดหมวดหมู่ใหม่ในโคลงบางชุด ทำให้ได้โคลงภาษิตรวม 594 ชุด จำนวน 902 บท (รวมโคลงนำ 2 บท และโคลงส่งท้าย 4 บท) พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2543
  • ฉบับคัดลอก ที่น่าสนใจ เช่น
  • รูปแบบของหนังสือประชุมโคลงโลกนิติ

  •  หนังสือประชุมโคลงโลกนิติ[2] ขึ้นต้นด้วยโคลงนำ 2 บท คือ
     
     อัญขยมบรมนเรศเรื้องรามวงศ์
    พระผ่านแผ่นไผททรงสืบไท้
    แสวงยิ่งสิ่งสดับองค์โอวาท
    หวังประชาชนให้อ่านแจ้งคำโคลง
     
     ครรโลงโลกนิตินี้นมนาน
    มีแต่โบราณกาลเก่าพร้อง
    เป็นสุภสิตสารสอนจิต
    กลดั่งสร้อยสอดคล้องเวี่ยไว้ในกรรณ
     
    จากนั้น จะแยกโคลงออกเป็นชุดๆ แต่ละชุดมีส่วนประกอบดังนี้
    • ตัวเลขลำดับกำกับชุด
    • คาถา โดยชุดที่มีคาถา จะเขียนคาถาไว้ที่ต้นบท พร้อมชื่อคัมภีร์อันเป็นที่มาของคาถานั้น
      • ถ้าโคลงชุดนี้ไม่มีคาถา จะเขียนว่า ไม่พบคาถา
    • อ้างอิงท้ายคาถา (ถ้ามีคาถา)
      • แหล่งที่มา เช่น คัมภีร์โลกนิติ, คัมภีร์ธรรมนีติ, คัมภีร์ราชนีติ, หิโตปเทศ, ธรรมบท, พระไตรปิฎก
      • ถ้าไม่พบที่มาของคัมภีร์ จะเขียนว่า ไม่ปรากฏที่มา
    • ตัวโคลง
    • อ้างอิงท้ายโคลง
      • โคลงสำนวนเก่า จะเขียนว่า สำนวนเก่า
      • โคลงพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (จารึกวัดพระเชตุพนฯ) จะเขียนว่า สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร
    ตัวอย่าง
    โคลงชุดที่ 170 เป็นดังนี้
     
    170.
    ปฐพฺยา มธุรา ติณีอุจฺฉุ นารี สุภาสิตํ
    อุจฺฉุนารีสุ ตปฺปนฺติน ตปปติ สุภาสิตํ
    ไม่ปรากฏที่มา
     
     รสหวานในโลกนี้มีสาม
    หญิงรูปบริสุทธิ์งามอีกอ้อย
    สมเสพรสกลกามเยาวโยค
    หวานไป่ปานรสถ้อยกล่าวเกลี้ยงไมตรี
    สำนวนเก่า
     
     หวานใดในโลกนี้มีสาม สิ่งนา
    หวานหนึ่งคือรสกามอีกอ้อย
    หวานอื่นหมื่นแสนทรามสารพัด หวานเอย
    หวานไป่ปานรสถ้อยกล่าวเกลี้ยงคำหวาน
    สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร

    Image result for โคลงโลกนิติ jpg

ขุนช้างขุนแผน

ขุนช้างขุนแผน

หนังสือเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้กวีในรัชสมัยของพระองค์ ตลอดจนพระองค์เองร่วมกันแต่งและทรงพระราชนิพนธ์ขี้นเป็นวรรณคดีที่มีค่าทั้งในด้านความไพเราะและในลีลาการแต่ง ตลอดจนเค้าโครงเรื่อง ได้รับการยกย่องตามพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเป็นยอดของหนังสือประเภทกลอนเสภา และได้รับประทับราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ไว้เป็นเครื่องหมายของการยกย่องนั้นด้วย หนังสือเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ ไม่เพียงแต่เป็นวรรณคดีสำหรับอ่านกันเล่น เพื่อได้รับรสวรรณคดีเป็นเครื่องบันเทิงใจเท่านั้น หากแต่บางตอนในวรรณคดีเรื่องนี้ยังเป็นหลักฐานที่ให้ความรู้ในเรื่องราวความเป็นอยู่ของผู้คนและบ้านเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สมกับที่มีคำกล่าวว่า วรรณคดีเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพความเป็นไปของบ้านเมืองในยุคนั้น ๆ ให้คนรุ่นหลัง ๆ ได้ทราบด้วย
ตัดตอนส่วนหนึ่งจากคำนำของกรมศิลปากรที่อนุญาตให้สำนักพิมพ์บรรณาคารจัดพิมพ์ขึ้นจำหน่าย ในการพิมพ์ครั้งที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๑๓
วรรณกรรมไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี 2553 โดยศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย และนายคริส เบเกอร์ 
Related image

กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานและงานนักขัตฤกษ์

กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานและงานนักขัตฤกษ์

   กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานและงานนักขัตฤกษ์ เป็นกาพย์เห่เรือที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ซึ่งพรรณนาเกี่ยวกับอาหารคาวหวานในวัง โดยใช้การบรรยายเนื้อหาเยี่ยงนิราศ คือการรำพึงรำพันถึงสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี โดยนำเอาชื่ออาหาร ลักษณะ ส่วนประกอบ หรือความสัมพันธ์มาเชื่อมโยงเข้ากับการรำพึงรำพันนั้น นอกจากนี้ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ยังเป็นวรรณคดีที่มุ่งเน้นความงดงามไพเราะของวรรณคดีเหนือสิ่งอื่นใด มีการใช้โวหารและภาษาที่สละสลวย ตลอดจนการอุปมาเพื่อสื่อถึงรสชาติและฝีมือในการปรุงอาหารของนางอันเป็นที่รัก และการนำชื่ออาหารซึ่งสื่อถึงความในพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในความสุขจากการใกล้ชิดหรือโศกเศร้าจากการพรากจากนางอันเป็นที่รักได้อย่างกลมกลืน ชื่ออาหารหลายชนิดในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เป็นอาหารโบราณที่หารับประทานได้ยาก เนื่องจากมีวิธีการปรุงที่ยาก และต้องใช้ความประณีตในการทำเป็นอย่างมาก เช่นหรุ่ม ล่าเตียง เป็นต้น ซึ่งจากวรรณคดีเรื่องนี้ก็ทำให้มีผู้นำอาหารโบราณหลายชนิดมารื้อฟื้นฝึกปรุงใหม่กันอีกด้วย
        
Image result for กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานและงานนักขัตฤกษ์ jpg
กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานและงานนักขัตฤกษ์
กวี :รัชกาลที่ 2
ประเภท :กาพย์เห่เรือ
คำประพันธ์ :กาพย์และโคลง
ความยาว :
สมัย :ต้นรัตนโกสินทร์
ปีที่แต่ง :ราวรัชกาลที่ 2
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร

กฤษณาสอนน้องคำฉันท์

กฤษณาสอนน้องคำฉันท์



กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ เป็นวรรณกรรมประเภทคำฉันท์ ส่วนใหญ่เป็นกาพย์ฉบังและกาพย์สุรางคนางค์ สันนิษฐานว่าพระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินท์แต่งกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ระหว่างที่พระยาราชสุภาวดีไปรับราชการที่เมืองนครศรีธรรมราช พราะยาราชสุภาวดีแต่งก่อนในตอนต้นแล้วอาราธนาพระภิกษุอินท์แต่งต่อตอนท้าย
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์มีจุดมุ่งหมายเพื่อสอนกุลสตรีในสมัยนั้น มีเค้าโครงเรื่องมาจากมหาภารตะของอินเดีย เป็นเรื่องที่แต่งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ต้นฉบับคงจะสูญหายไป พระยาราชสุภาวดี และพระภิกษุอินท์จึงแต่งขึ้นใหม่ ดังกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
 นางกฤษณานารถก็มีเรื่องบริบูรณ์
สมุดเดิมก็เศร้าสูญสลายลบบเป็นผล
   

เนื้อเรื่อง


    ท้าวพรหมทัตแห่งกรุงพาราณสีมีพระธิดา ๒ องค์คือ นางกฤษณาและนางจิรประภา เมื่อพระบิดาจัดพิธีสยุมพร
 นางกฤษณามีพระภัสดา ๕ พระองค์
 และนางสามารถรับใช้ปรนนิบัติพระภัสดาได้ดี พระภัสดาต่างก็รักนาง 
ส่วนนางจิรประภามีภัสดาองค์เดียวแต่ทำหน้าที่บกพร่อง
 นางจิรประภาเข้าใจว่านางกฤษณามีเวทมนตร์สามารถผูกใจชายจึงมาขอเรียนบ้าง 
นางกฤษณาชี้แจงว่าการที่สามีรักใคร่มิใช่มีเวทมนตร์ผูกใจชาย 
แต่อยู่ที่การเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี รู้จักหน้าที่ของภรรยา อยู่ในโอวาทของสามี 
นางจิรประภาจึงนำคำสอนของนางกฤษณาไปปฏิบัติ

ตัวอย่าง


  • ความสัตย์และการมีกิริยาอัชฌาสัย
ความสัตย์เป็นศักดิ์เสนาอัชฌากิริยา
เป็นสุขสวัสดิวรกาย

  • พระคุณของบิดามารดาต่อบุตร
หนึ่งโสดคุณปิตุมารดาเกิดเกล้าเรามา
ประเสริฐยิ่งภพไตรย
คุ้มครองป้องกันโพยภัยแต่เยาวเท่าใหญ่
พระคุณก็สุดแสนทวี
  • สัตว์ตายเหลือเขาหนังคนตายเหลือความดีความชั่ว
คชสารแม้ม้วยมีงาโคกระบือมรณา
เขาหนังก็เป็นสำคัญ

บุคคลถึงกาลอาสัญสูญสิ้นสารพัน
คงแต่ความชั่วกับดี
                           
Image result for กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ jpg
                                                  

นิทานเวตาล(เรื่องที่10)

นิทานเวตาล(เรื่องที่10) ประวัติผู้แต่ง      พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรีม...